วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  27 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1ุ6 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

     วันนี้เป็นวันปิดคอร์ส เรียนวันสุดท้าย เป็นการจัดนิทรรศการผลงานศิลปะสร้างสรรค์ โดยนำผลงานทั้งหมดที่เรียนมาของแต่ละคนมาจัดในงานวันนี้ ซึ่งอาจารย์ให้ทุกคนในห้องช่วยกันระดมความคิดในการวางแผนจัดเตรียมงานทั้งหมดร่วมกัน

วันจัดนิทรรศการผลงานศิลปะสร้างสรรค์
ของกลุ่มเรียน 102
ขณะที่เพื่อนๆช่วยกันจัดเตรียมงาน

ผลงานต่างๆ


การนำเสนอ
นำเสนอชิ้นงานสอนศิลป์

รางวัล

ชิ้นงานสอนศิลป์
"อูคูเลเล่สุดเท่ห์"

ความรู้เพิ่มเติม
ความหมายการจัดนิทรรศการศิลปะ
     การจัดนิทรรศการศิลปะ หมายถึง การนำผลงานศิลปะแขนงต่างๆให้คนทั่วไปได้ชม เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ชมได้รับความรู้ ความเข้าใจ มีโอกาสชื่นชมกับผลงานที่นำมาแสดง เป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
     1. นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
     2. นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
     3. นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป
จุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการศิลปะ
     1. เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ
     2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความประทับใจ ด้านศิลปะแก่ผู้ชม
     3. เพื่อเพิ่มพูนพัฒนา ความรู้ ทักษะทางศิลปะแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
     4. เพื่อเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
     5. เพื่อพัฒนา ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้จัดนิทรรศการ
ระยะเวลา ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
     การจัดนิทรรศการชั่วคราวและการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่นั้น ควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน การจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะ ก็ควรจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับนิทรรศการอื่นๆ เรื่องระยะเวลานั้นก็คงกำหนดตามความเหมาะสมของสถานที่ ตามโอกาสอันสมควรในแต่ละครั้งคราวไป
สถานที่ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
     ควรเป็นสถานที่ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จัก เดินทางสะดวกหรือเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่จะจัดนิทรรศการนั้นๆสถานที่จัดนิทรรศการ สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
     1. การจัดภายนอกหรือกลางแจ้ง ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณที่ว่าง เช่น ลานนอกอาคาร สนามหญ้าระเบียง การจัดนิทรรศการภายนอกใช้จัดกับสิ่งของ เรื่องราวและตัวอย่างงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเรื่องที่จัดขึ้นบางครั้งก็มีการจัดสาธิตประกอบ ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดภายในอาคาร
     2. การจัดภายในหรือในร่ม ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นในห้องต่างๆ เช่น ห้องเรียน ห้องโถงกว้างๆ หรือห้องนิทรรศการโดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการภายในใช้กับสิ่งของที่ต้องจัดเป็นสัดส่วน เหมาะสมกับการจัดเฉพาะในร่ม ตลอดจนการดูแลรักษาอาจเป็นระยะเวลายาวนาน และสิ่งของที่นำมาจัดนั้นมีค่าควรอยู่ภายในร่มมากกว่าภายนอกหรือกลางแจ้ง
(ภาพโดย สมใจ ภัติศิริ)
ขั้นตอนการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ
     การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ จำเป็นต้องมีการวางแผนงาน เตรียมการ ดำเนินการ และวัดผลประเมินผลจนครบวงจร ซึ่งมีขั้นตอนการจัดนิทรรศการศิลปะโดยทั่วไป ดังนี้
     1. การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด นั่นคือการเขียนโครงการจัดนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเหตุผล (ประโยชน์และความจำเป็น) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ขั้นตอนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ การวัดผลประเมินผลและผลที่คาดว่าจะได้รับ (เมื่อสิ้นสุดโครงการ)
     2. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ โดยมีตำแหน่งประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายสถานที่ พิธีการ ต้อนรับ การเงิน ประชาสัมพันธ์ โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
     3. การเตรียมผลงานศิลปะ หรือการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเตรียมจัดแสดง รวมทั้งการติดการ์ด หรือใส่กรอบผลงาน
     4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนไปร่วมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบของการจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ บัตรเชิญ ป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อมวลชน
     5. การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เป็นการจัดเตรียมสถานที่ แสง เสียง บอร์ดแสดงผลงาน ไม้ประดับ โต๊ะ เก้าอี้ ริบบิ้นเปิดงาน สมุดเซ็นเยี่ยม และวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ
     6. การจัดงานและพิธีการ เป็นการจัดกำหนดการพิธีการ และดำเนินการเปิดงานแสดงนิทรรศการ เช่น จัดทำ กำหนดการ คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดการนำชม การแสดงและการสาธิตผลงาน เป็นต้น
     7. การวัดผลประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายที่ต้องการทราบผลการจัดนิทรรศการว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการหรือไม่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม จากสมุดเยี่ยมชม และจากที่ประชุมของคณะกรรมการ

หลักการจัดนิทรรศการศิลปะ 
การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
     1.1 ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ
     1.2 ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
     1.3 ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
2. การเขียนตัวอักษร
การจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
     2.1 ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
     2.2 ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
     2.3 ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
     2.4 ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที
     2.5 แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
     2.6 สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
3. การตั้งวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
     ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
     ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย

หลักการชมนิทรรศการศิลปะ
(ภาพโดย สมใจ ภัติศิริ)
1. ควรไปถึงสถานที่ตามเวลากำหนด และมีเวลาว่างพอสมควรที่จะเข้าชมนิทรรศการ
2. ขอรับเอกสาร สูจิบัตรประกอบนิทรรศการ เพื่อช่วยให้เกิดประโยชน์ในการชมมากขึ้น
3. เดินชมผลงานจนทั่วทุกแห่ง แล้วจึงเลือกชมตามความสนใจของตนอีกครั้งหนึ่ง
4. ยืนให้ห่างจากผลงานประมาณ 1 เมตร
5. ไม่จับต้องผลงาน นอกจากเป็นผลงานที่จับต้องได้หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน
6. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผลงานไปในทางเสียหาย
7. ควรจดบันทึกข้อความหรือเนื้อหาสำคัญที่เป็นประโยชน์
8. เข้าชมด้วยความสำรวม รักษามารยาทและประพฤติตนให้เป็นสุภาพชน
9. ศึกษาหาความรู้หรือคุณประโยชน์จากนิทรรศการให้มากที่สุด
10. ให้ความร่วมมือกับฝ่ายจัดนิทรรศการ เช่น กรอกแบบสอบถามข้อมูลต่างๆ เป็นต้น



การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำเทคนิคต่างๆ เช่น ในการจัดเตรียมงาน การวางแผน รูปแบบการจัดวางผลงาน ฯลฯ ที่อาจารย์เสนอแนะสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดนิทรรศการวิชาอื่นๆ หรือในอนาคต

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจและให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเตรียมงาน และเก็บของเมื่อเลิกใช้ และการนำเสนอชิ้นงานสอนศิลป์รู้สึกตื่นเต้นนิดหน่อย
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือ สามัคคี ช่วยกันเตรียมของในการจัด และเก็บของเข้าที่เมื่องานเลิกแล้ว
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการแนะนำบอกเทคนิคที่ดีในการจัดงาน การวางชิ้นงานต่างๆให้ดูดี มีความสวยงาม น่าเข้าไปชม

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  22 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

วันนี้เป็นการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 หน่วย ยานพาหนะ (กลุ่มดิฉันเอง)
     ขั้นนำ
          1. จัดโต๊ะทำกิจกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกำหนดให้เป็นโต๊ะวาดภาพอิสระด้วยสีเทียน (เกี่ยวกับยานพาหนะ) 1 กลุ่ม โต๊ะพับกระดาษ (เกี่ยวกับยานพาหนะ) 1 กลุ่ม โต๊ะปั้นดินน้ำมัน 1 กลุ่ม และโต๊ะเพ้นท์ก้อนหิน 1 กลุ่ม (กิจกรรมพิเศษ)
          2. ครูร้องเพลงเก็บเด็ก ให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม
          3. แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กๆ ฟัง
     ขั้นสอน
          4. อธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งสาธิตการทำกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม กิจกรรมเพ้นท์ก้อนหิน (กิจกรรมพิเศษ) นำพู่กันจุ่มสีน้ำวาดรูปยานพาหนะตามจินตนาการลงบนก้อนหิน ตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ
          5. เมื่อเด็กทำชิ้นงานเสร็จ ทุกครั้งครูควรพูดถามเหตุผล เช่น "หนูวาดรูปอะไรค่ะ", "ทำไมถึงวาดรูปนี่ค่ะ" ฯลฯ 
          6. ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดให้ ตามความสนใจ เมื่อทำเสร็จแล้ว นำผลงานมาส่งพร้อมบอก อธิบายผลงานให้ครูฟัง ครูเขียนชื่อเด็ก และชื่อผลงาน (เขียนทุกคำที่เด็กพูด) แล้วนำผลงานไปเก็บในที่เก็บผลงาน
          7. ให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมต่างๆ จนครบทุกกิจกรรม
     ขั้นสรุป
          8. เด็กออกมานำเสนอผลงานที่ทำให้เพื่อนๆ ฟัง
          9. ช่วยกันเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเข้าที่ให้เรียบร้อย

โต๊ะที่ 1
วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน (ยานพาหนะ)

ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีเทียน (ยานพาหนะ)

โต๊ะที่ 2
พับกระดาษ (ยานพาหนะ)

ผลงานพับกระดาษ (ยานพาหนะ)

โต๊ะที่ 3
ปั้นดินน้ำมัน (ยานพาหนะ)

ผลงานปั้นดินน้ำมัน (ยานพาหนะ)

โต๊ะที่ 4
เพ้นท์ก้อนหิน (กิจกรรมพิเศษ)

ผลงานเพ้นท์ก้อนหิน

กลุ่มที่ 2 หน่วย สัตว์

ขณะเพื่อนกำลังอธิบายกิจกรรมและสาธิตวิธีทำ

กิจกรรม
1.วาดภาพระบายสี
2.การพับ
3.เพื่อนสัตว์ไม้ไอศกรีม
โต๊ะที่ 1
วาดภาพระบายสี (สัตว์)

ผลงานวาดภาพระบายสี (สัตว์)

โต๊ะที่ 2
พับกระดาษ (สัตว์)

ผลงานพับกระดาษ (สัตว์)

โต๊ะที่ 3
ประดิษฐ์ เพื่อนสัตว์ไม้ไอศกรีม

ผลงานประดิษฐ์เพื่อนสัตว์ไม้ไอศกรีม
     เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมครบทุกคนแล้ว ครูให้เด็กๆออกมานำเสนอผลงานของตนเอง (ครูอาจจะมีเทคนิคหลายแบบ เช่น ครูเลือกเด็กแบบเจาะจง, อาสาสมัครเด็กออกมาเอง, ให้เพื่อนๆเลือกตัวแทนออกมา, ครูหยิบผลงานออกมา เป็นต้น)
เด็กๆกำลังนำเสนอผลงานของตนเอง

กลุ่มที่ 3 หน่วย ข้าว
ขณะเพื่อนกำลังอธิบายกิจกรรมและสาธิตวิธีทำ

กิจกรรม
1.วาดภาพด้วยสีเทียน
2.วาดภาพด้วยสีน้ำ
3.ปั้นดินน้ำมัน
4.ปะติดเมล็ดข้าว


โต๊ะที่ 1
วาดภาพด้วยสีเทียน (ข้าว)
ผลงานวาดภาพด้วยสีเทียน


โต๊ะที่ 2
วาดภาพด้วยสีน้ำ (ข้าว)

ผลงานวาดภาพด้วยสีน้ำ (ข้าว)
 

โต๊ะที่ 3
ปั้นดินน้ำมัน (ข้าว)
ผลงานปั้นดินน้ำมัน (ข้าว)

โต๊ะที่ 4
ปะติดเมล็ดข้าว

ผลงานปะติดเมล็ดข้าว
 
     เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมครบทุกคนแล้ว ครูให้เด็กๆออกมานำเสนอผลงานของตนเอง (ครูอาจจะมีเทคนิคหลายแบบ เช่น ครูเลือกเด็กแบบเจาะจง, อาสาสมัครเด็กออกมาเอง, ให้เพื่อนๆเลือกตัวแทนออกมา, ครูหยิบผลงานออกมา เป็นต้น)
เด็กๆกำลังนำเสนอผลงานของตนเอง

กลุ่มที่ 4 หน่วย กล้วย
ขณะเพื่อนกำลังอธิบายกิจกรรมและสาธิตวิธีทำ

กิจกรรม
1.ปั้นแป้งโดว์
2.ฉีก ปะ ภาพกล้วย
3.วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4.พิมพ์ภาพจากก้านกล้วย

โต๊ะที่ 1
ปั้นแป้งโดว์ (กล้วย)

ผลงานปั้นแป้งโดว์ (กล้วย)

โต๊ะที่ 2
ฉีก ปะ ภาพกล้วย
ผลงานฉีก ปะ ภาพกล้วย

โต๊ะที่ 3
วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ (กล้วย)

ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ (กล้วย)

โต๊ะที่ 4
พิมพ์ภาพจากก้านกล้วย

ผลงานพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย


     เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมครบทุกคนแล้ว ครูให้เด็กๆออกมานำเสนอผลงานของตนเอง (ครูอาจจะมีเทคนิคหลายแบบ เช่น ครูเลือกเด็กแบบเจาะจง, อาสาสมัครเด็กออกมาเอง, ให้เพื่อนๆเลือกตัวแทนออกมา, ครูหยิบผลงานออกมา เป็นต้น)
เด็กๆกำลังนำเสนอผลงานของตนเอง

กลุ่มที่ 5 หน่วย ธรรมชาติ
กิจกรรม
1.วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
2.วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน
3.ปั้นดินน้ำมัน
โต๊ะที่ 1
วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ

  ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ

โต๊ะที่ 2
วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน

ผลงานวาดภาพอิสระด้วยสีเทียน

โต๊ะที่ 3
ปั้นดินน้ำมัน

ผลงานปั้นดินน้ำมัน


     เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมครบทุกคนแล้ว ครูให้เด็กๆออกมานำเสนอผลงานของตนเอง (ครูอาจจะมีเทคนิคหลายแบบ เช่น ครูเลือกเด็กแบบเจาะจง, อาสาสมัครเด็กออกมาเอง, ให้เพื่อนๆเลือกตัวแทนออกมา, ครูหยิบผลงานออกมา เป็นต้น)

เด็กๆกำลังนำเสนอผลงานของตนเอง

การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำกิจกรรมทั้ง 5 กลุ่มไปสอนเด็กปฐมวัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีอาจมีการสอนในรูปแบบอื่นๆที่แปลกใหม่การเพิ่มวัสดุที่หลากหลายแตกต่างออกไป และการเลือกวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานและปลอดภัยกับเด็ก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจแสดงบทบาทสมมุติ เป็นครู อย่างเต็มความสามารถ และให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ ร่วมแสดงเป็นเด็กร่วมทำกิจกรรมต่างๆ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ คนที่แสดงเป็นครูก็แสดงอย่างเต็มที่ คนที่เป็นเด็กก็ให้ความร่วมมือ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการบอก ชี้แนะแนวทางในการสอนกิจกรรม บอกเทคนิคการสอนต่างๆอย่างละเอียด