วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  1 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

     วันนี้อาจารย์ย้ายชั่วโมงมาเรียนวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558 เนื่องจากวันพุธมีกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื้อหามีดังนี้
จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
เพื่อให้ผู้สอน
1.วางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสม และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
2.นำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
1.ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.วิเคราะห์หลุกสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์ของ
  • มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
  • ตัวบ่งชี้
  • สภาพที่พึงประสงค์ของเด็กอายุ 0-3 ปี และ 3-5 ปี
3.วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
4.กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
5.เขียนแผนการจัดประสบการณ์

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์

รูปแบบที่ 1 แบบการจัดประสบการณ์แต่ละวันเขียนแยกตามกิจกรรมประจำวัน
รูปแบบที่ 2 เขียนแยกเป็นวันเฉพาะกิจกรรมหลักและดำเนินการสอนตามตารางกิจวัตรประจำวัน
รูปแบบที่ 3 เขียนแยกตามพัฒนาการในแต่ละวันแล้วนำไปจัดตามตารางกิจกรรมประจำวัน
กิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน
แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ประเมินผลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมรวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • วิธีวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
  • ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา และประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
  • ผลการประเมินต้องนำไปสู่การแปรผลและลงข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
  • มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีวัดและโอกาสของการประเมิน
จุดมุ่งหมายของการประเมิน
  •  วินิจฉัยความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
  • ใช้เป็นข้อมูลสะท้อนกลับว่าครูสามารถสอนบรรลุกรอบมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่กำหนดไว้
  • ใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้และเปรียบเทียบถึงระดับพัฒนาการของผู้เรียน
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
  • ประเมินกระบวนการเรียนรู้ที่นำมาสู่ผลผลิตจากการเรียนรู้
  • ประเมินความสามารถเพื่อส่งเสริม หรือ แก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล (ความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ)
  • ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมิน ทั้งการประเมินตนเองและเพื่อน
  • ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะสะท้อนกระบวนการเรียนการสอนและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
  • ประเมินการนำไปใช้ในชีวิตจริง
  • ประเมินด้านต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายในสถานการณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง
วิธีการ แหล่งข้อมูลและเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้
แนวทางการให้คะแนนเพื่อการประเมิน : Rubric
  • แนวทางการประเมินจากสภาพจริงให้ความสำคัญต่อการแสดงออกที่แท้จริงของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
  • งานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนทำมีแนวไปสู่ความสำเร็จของงานและมีวิธีการหาคำตอบหลากหลายแนวทาง
  • ต้องมีการกำหนดแนวทางการให้คะแนนอย่างชัดเจน จะต้องมีมาตราวัดว่าผู้เรียนทำอะไรได้สำเร็จและระดับความสำเร็จอยูาในระดับใด

ตัวอย่างการเขียนแผนกิจกรรมสร้างสรรค์

**การบ้าน  เขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำความรู้มาเป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยให้มีความชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา รู้สึกคนเยอะเสียงดัง ฟังเวลาที่อาจารย์พูดไม่รู้เรื่อง
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ พูดคุยเสียงดัง เพราะเรียนร่วมกับเพื่อนอีกกลุ่ม
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการสอนเนื้อหาและอธิบายงานอย่างกระฉับรวดเร็ว เข้าใจง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น