วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  25 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

งานของสัปดาห์นี้มี ดังนี้
1.งานกระดาษทิชชู (เปเปอร์มาร์เช่) (งานเดี่ยว)
อุปกรณ์
1.กระดาษทิชชู 2-3 ม้วน
2.สีโปสเตอร์
3.กาว
วิธีทำ
     เทน้ำใส่กะละมังพอประมาณ (ไม่ต้องเยอะ) ฉีกทิชชูลงไปเยอะๆ จากนั้นเทกาวลงไป และขยำให้เข้ากันจนกว่าทุกอย่างจะลงตัว แล้วผสมสีโปสเตอร์ตามต้องการ ปั่นแบ่งทิชชูที่ผสมเสร็จแล้วมาผสมกับสีโปสเตอร์ ขยำให้สีทั่วถึงเป็นอันเสร็จ

วิธีทำเปเปอร์มาร์เช่

1.วาดภาพที่ชอบลงบนกระดาษร้อยปอนด์
2.ค่อยๆนำทิชชูที่ผสมสีต่างๆเรียบร้อยแล้วมาวางในส่วนที่ต้องการจะทำ และใช้ไม้จิ้มฟัน หรือไม้เสียบลูกชิ้น ค่อยๆจิ้มลงบนเนื้อทิชชู

โพนี่น้อย
2.งานใบไม้ สร้างเป็นเรื่องราว (งานกลุ่ม)
อุปกรณ์
1.กระดาษชานอ้อย
2.ใบไม้

สองนกฮูกน้อยในป่าใหญ่
วิธีทำ
     นำใบไม้ (ที่ทับไว้) มาสร้างสรรค์ทากาวติดตกแต่งลงกระดาษชานอ้อยให้เป็นเรื่องราวตามจินตนาการ

3.งานสื่อผสม (งานกลุ่ม)
อุปกรณ์
1.กระดาษชานอ้อย
2.แกนทิชชู
3,มะกะโรนี
4.กรรไกร
5.สีเทียน
6.กระดาษสี
7.ใบไม้
สโนว์แมนเพื่อนรัก
วิธีทำ
     นำวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่เรียนมาทั้งหมด มาติดสร้างสรรค์เป็นภาพเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการลงบนกระดาษชานอ้อย

การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมไปสอนเด็กปฐมวัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีอาจมีการสอนในรูปแบบอื่นๆที่แปลกใหม่การเพิ่มวัสดุที่หลากหลายแตกต่างออกไป และการเลือกวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานและปลอดภัยกับเด็ก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจและพยายามรีบทำงานทุกชิ้นมาก เพื่อให้เสร็จตรงต่อเวลา รู้สึกว่าเปเปอร์มาร์เช่ต้องใช้เวลาทำนานมาก แต่ชอบ คิดว่าทำออกมาได้ดีพอสมควร และงานกลุ่มก็แบ่งหน้าที่กันทำ รู้สึกชอบที่ทำงานใบไม้ออกมาน่ารัก แต่รู้สึกอยากระบายสีเพิ่มเติม และงานสื่อผสมทำออกมาน่ารักเช่นกัน
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนตั้งใจทำงานกันอย่างเคร่งเครียด และทุกคนทำผลงานออกมาดี งานกลุ่มมีการแบ่งงานกันทำ เพื่อให้รวดเร็วเสร็จทันเวลา
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการอธิบายวิธีทำงานแต่ละชิ้น มีอุปกรณ์เหมาะสมและเพียงพอ และคอยเดินดูคอยถามผลงานเด็กอยู่ตลอดเวลา มีกิจกรรมศิลปะหลากหลายรูปแบบดีๆมาให้ทำไม่ซ้ำกัน 

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  18 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

งานของสัปดาห์นี้ มีดังต่อไปนี้
1.โมบาย (งานเดี่ยว)
อุปกรณ์
1.กระดาษสีต่าง
2.จานพลาสติก
3.ไหมพรม
4.สำลี
5.ที่เจาะกระดาษ
6.กาว
รุ้งกินน้ำ
2.แกนกระดาษทิชชู่ (งานกลุ่ม)
บ้านของลูกหมูน้อยทั้งสาม
     วิธีทำ นำกระดาษสีหลากหลายสี ตัดเป็นรูปทรงต่างๆ และนำมาติดตกแต่งแกนกระดาษทิชชู่ สร้างเป็นเรื่องราวตามจินตนาการ

3.จานกระดาษ (งานเดี่ยว)
มิกกี้เม้าส์
     วิธีทำ วาดรูปมิกกี้เม้าส์ใส่กระดาษสีที่ต้องการ และตัด นำไปติดในจานกระดาษ พร้อมวาดต่อเติมและตกแต่งส่วนต่างๆให้สวยงาม

4.การร้อย (ใช้หลอดหรือมักกะโรนี)
     เทสีผสมอาหารใส่ถาด จากนั้นนำมักกะโรนีลงไปแช่ในน้ำสีผสมอาหาร และตักขึ้นมาเมื่อคนจนสีติด เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง
มักกะโรนีตากแห้ง
กำไลนำโชค
     วิธีทำ นำมักกะโรนีร้อยใส่ไหมพรม เลือกเรียงสีตามที่ชอบ จะทำเป็นกำไล สร้อยคอ หรือแหวนก็ได้ตามต้องการ

5.นำของที่เหลือใช้ตั้งแต่ข้อ1-5 มาทำเป็นผลงาน (งานกลุ่ม)
     วิธีทำ นำไม้ไอศกรีมสีสันต่างๆทากาวแปะทับติดกันเป็นชั้น ประมาณ 5-6 อัน ทำไว้สองฝั่งเพื่อเป็นฐาน จากนั้นนำไม้ไอศกรีมแบบธรรมดาไม่มีสีทากาวตรงปลายวางเป็นแนวนอนเรียงติดกัน (ตามภาพ) เสร็จแล้วตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ

การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมไปสอนเด็กปฐมวัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีอาจมีการสอนในรูปแบบอื่นๆที่แปลกใหม่การเพิ่มวัสดุที่หลากหลายแตกต่างออกไป และการเลือกวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานและปลอดภัยกับเด็ก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจและพยายามรีบทำงานทุกชิ้นมาก เพื่อให้เสร็จตรงต่อเวลา รู้สึกว่าโมบายที่ตนเองทำยากนิดหน่อย เพราะต้องรีบทำด้วย ผลงานออกมาไม่เหมือนที่คิดเท่าไหร่
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนตั้งใจทำงานกันอย่างเคร่งเครียด และทุกคนทำผลงานออกมาดี
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการอธิบายวิธีทำงานแต่ละชิ้น มีอุปกรณ์เหมาะสมและเพียงพอ และคอยเดินดูคอยถามผลงานเด็กอยู่ตลอดเวลา มีกิจกรรมศิลปะหลากหลายรูปแบบดีๆมาให้ทำไม่ซ้ำกัน 

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  11 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

งานสัปดาห์นี้เป็น งานกระดาษ
อุปกรณ์
1.งานฉีกปะ
แมลงเต่าทอง
     วิธีทำ วาดภาพที่ต้องการจากนั้นฉีกกระดาษสีต่างๆ และทากาวปะติดรูปที่วาดให้เรียบร้อย เสร็จแล้วใช้เมจิกสีดำตัดขอบให้สวยงาม

2.ตัดปะ
เจ้ายีราฟคอยาว
      วิธีทำ ตัดกระดาษเป็นรูปร่างต่างๆ แล้วนำมาปะติดลงกระดาษเป็นเรื่องราวต่างๆตามความชอบ

 3.ขยำ
ดอกไม้แสนสวย
     วิธีทำ วาดภาพที่ต้องการ จากนั้นฉีกกระดาษแก้วแล้วขยำ และทากาวติดตามรูปที่วาดให้สวยงาม

 4.สาน
     วิธีทำ วาดภาพอะไรก็ได้ตามความชอบ จากนั้นใช้ดินสอตีตารางที่ต้องการจะใช้คัตเตอร์กีด

ระฆังตีดัง
     เมื่อกีดเส้นตามรอยที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ตัดกระดาษสีเป็นเส้น แล้วสอดเข้าไปตามช่องตามต้องการ

5.เจาะ+ร้อย
มงกุฏวิเศษ
      วิธีทำ ใช้กระดาษหน้าปกตัดเป็นรูปที่ชอบ และใช้ที่เจาะกระดาษเจาะตามจุดที่ต้องการ จากนั้นนำไหมพรมมาร้อยตามรูที่เราเจาะ

6.พับ
หมีน้อย
     วิธีทำ ตัดกระดาษสร้างเป็นรูปร่าง หรือเรื่องอะไรก็ได้

7.พับพัด
ร่มหรรษา
     วิธีทำ ใช้กระดาษสีพับเป็นพัดแล้วนำมาตกแต่งเป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ

8.พับ+วาดต่อเติม
เพื่อนซี้จอมซน
     วิธีทำ พับกระดาษสีเป็นหน้ารูปต่างๆ เช่น หมาป่า หนู ฯลฯ แล้วนำมาติดบนกระดาษA4 จากนั้นวาดต่อเติมให้เสร็จสมบูรณ์ และตกแต่งให้สวยงาม

9.พับรูปแบบต่างๆ
นกพิราบส่งสาร
     วิธีทำ พับกระดาษสีเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น นกพิราบ กบ เครื่องบิน ฯลฯ แล้วนำมาติดบนกระดาษA4 จากนั้นตกแต่งให้สวยงาม

10.ม้วนกระดาษเส้น
มาลัยหลากสี
     วิธีทำ ตัดกระดาษสีต่างๆเป็นเส้น (ภาพซ้ายมือ) นำกระดาษสีที่ตัดเรียบร้อยแล้วมาม้วน (คล้ายวงกลม) เรียงต่อๆกันไปเรื่อยๆให้ครบทั้งหมด 30 เส้น

การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำกิจกรรมทั้ง 10 กิจกรรมไปสอนเด็กปฐมวัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีอาจมีการสอนในรูปแบบอื่นๆที่แปลกใหม่การเพิ่มวัสดุที่หลากหลายแตกต่างออกไป และการเลือกวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานและปลอดภัยกับเด็ก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจและพยายามรีบทำงานทุกชิ้นมาก เพื่อให้เสร็จตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนตั้งใจทำงานกันอย่างเคร่งเครียด และทุกคนทำผลงานออกมาดี
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการอธิบายวิธีทำงานแต่ละชิ้น มีอุปกรณ์เหมาะสมและเพียงพอ และคอยเดินดูคอยถามผลงานเด็กอยู่ตลอดเวลา มีกิจกรรมศิลปะหลากหลายรูปแบบดีๆมาให้ทำไม่ซ้ำกัน 

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  6 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

อุปกรณ์การกวนถั่วซีก
1. ถั่วซีกเลาะเปลือก 1/2 โล
2. นำ้ตาลทราย 1/2 โล
3. ผงวุ้น 1 ห่อ
4. หม้อไฟฟ้า
5. ทัพพี/ตะหลิว
6. กะทิ
นำถั่วซีก ครึ่งกิโล ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 ชั่วโมง แล้วนำมาต้ม
     ภาพที่ 1 ใส่ถั่วลงไปในหม้อ
     ภาพที่ 2 ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อต้ม
     ภาพที่ 3 ปิดฝาหม้อรอน้ำเดือด
     ภาพที่ 4 เมื่อน้ำเดือดคอยตักสีขาวๆออก

     ต้มไปเรื่อยๆจนกว่าถั่วจะเปื่อย จากนั้นตักถั่วใส่ผ้าฝ้ายรอให้แห้งแล้วบีบให้น้ำออกมา แล้วนำไปตำหรือทุบให้ถั่วละเอียด

     ภาพที่ 1 เทน้ำกะทิลงไปในหม้อ
     ภาพที่ 2 เทน้ำตาลลงไปประมาณครึ่งกิโลกรัม หรือตามความชอบ
     ภาพที่ 3 คนให้น้ำกะทิและน้ำตาลเข้ากัน
     ภาพที่ 4 รอจนกว่าจะเดือด
     ภาพที่ 5 พอเดือดค่อยๆตักถั่วลงไป
     ภาพที่ 6 กวนถั่วให้เข้ากัน กวนไปเรื่อยๆให้แห้งจนกว่าเนื้อของมันสามารถปั้นได้ไม่ติดมือ

กิจกรรมที่ 1

อุปกรณ์ในการทำลูกชุบ
1. ถั่วซีกที่กวนเรียบร้อยแล้ว
2. นำ้ตาลทราย
3. ผงวุ้น 1 ห่อ
4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
5. สีผสมอาหาร สีตามชอบ
6. โฟม แผ่นหนา เอามารองเวลาเสียบลูกชุบ
7. อุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว หรือ หม้อไฟฟ้า หรือกระทะไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมปลักสามตา
8. จาน ถ้วยใส่สี
9. พู่กัน
บรรยากาศขณะทำลูกชุบ
     วิธีทำ นำถั่วที่กวนเรียบร้อยแล้วมาปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ เสร็จแล้วเสียบใส่ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟันก็ได้ จากนั้นผสมสีผสมอาหารสีที่ต้องการใส่จาน/ถ้วย และใช้พู่กันขนาดต่างๆจุ่มสีผสมอาหารตกแต่งลูกชุบให้มีสีสันสวยงาม

วิธีทำที่ชุบลูกชุบ
     ภาพที่ 1 เทน้ำเปล่าลงไปในหม้อไฟฟ้า
     ภาพที่ 2 เทวุ้นผงลงไปพอประมาณ
     ภาพที่ 3 เทน้ำตาลลงไปพอประมาณ
     ภาพที่ 4 ใช้ช้อนกวนน้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะใช้ได้
     ภาพที่ 5 เมื่อกวนใช้ได้น้ำจะออกสีใสๆ นำลูกชุบที่เราปั้นและลงสีเรียบร้อยแล้วจุ่มลงไปในหม้อหมุนไปมาให้ทั่วถึง
     ภาพที่ 6 เมื่อจุ่มวุ้นเสร็จนำขึ้นมา จะสังเกตได้ว่ามันเป็นเงาๆ นำไปเสียบโฟมเพื่อให้วุ้นแห้ง (ถ้าอยากให้ลูกชุบเงาๆหนาๆก็จุ่มวุ้นกี่รอบก็ได้ตามต้องการ)

นำใบแก้ว หรือใบไม้ต่างๆ มาประดับตกแต่งลูกชุบ จากนั้นจัดใส่จานให้สวยงาม
ลูกชุบ

กิจกรรมที่ 2
     งานพิมพ์ มีด้วยกัน 5 อย่าง ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์มาเป็นกลุ่มเช่นกัน

อุปกรณ์
1. ผักชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ที่บ้านหรือจะไปซื้อเช่น ผักกาดขาว แครอท ข้าวโพด มันฝรั่ง หอมใหญ่ หัวใชเท้า อย่างละหัว
2. มีด 1 ด้าม
(งานเดี่ยว)
พิมพ์ภาพจากวัสดุที่หาง่าย เช่น ฝาขวดน้ำ, ก้อนหิน, ใบไม้ต่างๆ
พิมพ์ภาพจากวัสดุที่แกะสลัก เช่น แครอท, มันฝรั่ง ฯลฯ
พิมพ์ภาพจากฟองน้ำ แบบหนา บาง หยาบ
(งานกลุ่ม)
พิมพ์ภาพจากอวัยวะ เช่น มือ เท้า 
พิมพ์ภาพจากพืช เช่น ใบไม้ ดอก ผล ราก ฯลฯ


การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำกิจกรรมการทำลูกชุบไปสอนเด็กปฐมวัยในหน่วยการประกอบอาหาร และการพิมพ์ภาพด้วยวิธีการต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีอาจมีการสอนในรูปแบบอื่นๆที่แปลกใหม่การเพิ่มวัสดุที่หลากหลายแตกต่างออกไป และการเลือกวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานและปลอดภัยกับเด็ก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำลูกชุบมาก ชอบทาสีลูกชุบ แต่ไม่ชอบที่ลูกชุบเวลาปั้นบางอันแห้งเร็วเกินไปทำให้แตกง่าย และอันไหนที่ปั้นไม่แน่นเวลาทาสีจะยิ่งเห็นรอยแตกชัด ส่วนงานพิมพ์ภาพจากวัสดุต่างๆตั้งใจทำทุกชิ้น
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนตั้งใจทำลูกชุบกันอย่างคึกคัก ทุกกลุ่มก็ปั้นเป็นรูปร่างแตกต่างกันออกไป การลงสีบางกลุ่มก็สีสด บางกลุ่มสีอ่อน(เพราะใส่น้ำเย็น)
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการอธิบายวิธีทำงานแต่ละชิ้น มีอุปกรณ์เหมาะสมและเพียงพอ และคอยเดินดูคอยถามผลงานเด็กอยู่ตลอดเวลา มีกิจกรรมศิลปะหลากหลายรูปแบบดีๆมาให้ทำไม่ซ้ำกัน