บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี 14-15 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1ุ กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223
หนังเรื่องนี้จะเผยให้เห็นสิ่งเล็กน้อยของชีวิตที่ถูกกระทำในวันธรรมดาๆ ที่เกิดขึ้นเกือบจะทุกวันในสังคม แต่เพื่อย้ำเตือนให้เราฉุกคิดว่าพรสวรรค์และความสามารถของมนุษย์เรานั้น ได้ถูกริดรอนและบั่นทอนไปมากแค่ไหนผ่านกาลเวลาของการดำเนินชีวิตธรรมดาๆของเรา ผ่านสภาพสังคม แวดล้อมด้วยมนุษย์ที่เราเรียกอย่างสนิทปากว่าเพื่อน คนที่เราฝากอนาคตทางความรู้อย่างครูบาอาจารย์ หรือผู้คนที่เราให้ความสำคัญและเคารพนับถือ
ดังนั้น จุดจบของเด็กชายคนนั้นจึงเดาได้ไม่ยาก ถ้าคุณครูใช้อำนาจที่เหนือกว่าอธิบายว่าเขาไม่ใช่คนวาดที่แท้จริงและปลุกปั่นให้เพื่อนในห้องให้คล้อยตามได้ขนาดนั้น สักวันความสามารถในการวาดช้างได้ก็จะถูกบั่นทอนให้เหลือเพียงในรูปของความทรงจำซึ่งไม่ได้ถูกทำให้ความสามารถนั้นเจริญเติบโตได้อีกต่อไปและถูกขัดลำไว้ด้วยความเห็นพ้องของคำว่า ส่วนรวม แม้หนังจะไม่ได้บอกจุดจบแต่เราก็เดาได้ไม่ยากมิใช่หรือ - Cr.
หลังจากดูเสร็จอาจารย์พูดคุยถึงหนังสั้นเรื่องนี้ จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น อ่านคำสั่ง วาดภาพตนเองตามจินตนาการ
อาจารย์สอนเทคนิคต่างๆในการสอนเด็ก ในเวลาที่เด็กทำงานการเดินดูขณะที่เขาทำ ซึ่งครูจะได้เห็นความสามารถ ความพยายาม ความคิดสร้างสรรค์จริงๆ ของเด็กแต่ละคน และไม่ว่าเด็กจะวาดออกมาแบบไหน จะแตกต่างนอกเหนือจากคำสั่งก็ไม่มีถูกผิด แล้วการที่ครูให้เด็กออกมาติดผลงานบนกระดานหน้าห้อง เรื่องการติดกระดาษ การจัดวางติดเรียงกระดาษของเด็กอาจมีหลายแบบ ตรงหรือไม่ตรงบ้าง หรือจะติดไปคนละทิศทางก็ไม่มีถูกผิดเช่นกัน ในเรื่องผลงานของเด็กก็ต้องมีการพูดคุยถามเด็กๆ เช่น "รูปนี้มีความหมายอะไรค่ะ , ทำไมถึงวาดรูปนี้" เป็นต้น
คำตอบข้อที่ 1 ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์ผลงานโดยผลงานที่สร้างขึ้นมานั้นออกมาจากจินตนาการความรู้สึกนึกคิดของบุคคลนั้นๆ มีความสำคัญกับเด็กปฐมวัย คือ ช่วยส่งเสริมจินตนาการของเด็กเพื่อให้เด็กได้มีการแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์และได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ครั้งที่ 1ุ กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223
กิจกรรมวันที่ 1
อาจารย์เปิด VDO เรื่อง ด.เด็ก ช.ช้าง หนังสั้นกระตุกต่อมคิด และสะท้อนภาพลักษณ์อาชีพครูและเด็กนักเรียน ให้นักศึกษาทุกคนในห้องได้ดูหนังเรื่องนี้จะเผยให้เห็นสิ่งเล็กน้อยของชีวิตที่ถูกกระทำในวันธรรมดาๆ ที่เกิดขึ้นเกือบจะทุกวันในสังคม แต่เพื่อย้ำเตือนให้เราฉุกคิดว่าพรสวรรค์และความสามารถของมนุษย์เรานั้น ได้ถูกริดรอนและบั่นทอนไปมากแค่ไหนผ่านกาลเวลาของการดำเนินชีวิตธรรมดาๆของเรา ผ่านสภาพสังคม แวดล้อมด้วยมนุษย์ที่เราเรียกอย่างสนิทปากว่าเพื่อน คนที่เราฝากอนาคตทางความรู้อย่างครูบาอาจารย์ หรือผู้คนที่เราให้ความสำคัญและเคารพนับถือ
ดังนั้น จุดจบของเด็กชายคนนั้นจึงเดาได้ไม่ยาก ถ้าคุณครูใช้อำนาจที่เหนือกว่าอธิบายว่าเขาไม่ใช่คนวาดที่แท้จริงและปลุกปั่นให้เพื่อนในห้องให้คล้อยตามได้ขนาดนั้น สักวันความสามารถในการวาดช้างได้ก็จะถูกบั่นทอนให้เหลือเพียงในรูปของความทรงจำซึ่งไม่ได้ถูกทำให้ความสามารถนั้นเจริญเติบโตได้อีกต่อไปและถูกขัดลำไว้ด้วยความเห็นพ้องของคำว่า ส่วนรวม แม้หนังจะไม่ได้บอกจุดจบแต่เราก็เดาได้ไม่ยากมิใช่หรือ - Cr.
หลังจากดูเสร็จอาจารย์พูดคุยถึงหนังสั้นเรื่องนี้ จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น อ่านคำสั่ง วาดภาพตนเองตามจินตนาการ
กลับมาวาดเพิ่มเติม |
กิจกรรมวันที่ 2
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ 5-6 คน ทั้งหมด 5 กลุ่ม โดยให้โจทย์ตอบคำถาม 7 ข้อ ในความคิดของนักศีกษา พร้อมตกแต่งให้สวยงาม คำถามมีดังนี้
1.ศิลปะคืออะไร มีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
2.ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในแนวคิดของนักศึกษาเป็นอย่างไร
3.คุณลักษณะของครูปฐมวัยที่สอนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีลักษณะอย่างไร
4.ครูปฐมวัยควรสอนศิลปะอะไรให้กับเด็กปฐมวัย
5.ให้นักศึกษายกตัวอย่างกิจกรรมศิลปะอะไรให้กับเด็กปฐมวัย
6.นักศึกษาจะมีวิธีการประเมินผลงานทางศิลปะของเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
7.นักศึกษามีความคาดหวังอะไรบ้างจากการเรียนวิชานี้
My Mind กลุ่มดิฉัน |
คำตอบข้อที่ 2 ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การสร้างสรรค์ชิ้นงานตามจินตนาการแบบไม่มีผิดไม่มีถูก และได้สร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่แตกต่างจากคนอื่น
คำตอบข้อที่ 3 -ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน
-ยอมรับในผลงานของเด็ก ซึ่งผลงานของเด็กแต่ละคนไม่มีถูกไม่มีผิด
-ครูต้องไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก
-ครูต้องไม่อยู่เฉย ควรเดินดูเพื่อให้เห็นพฤติกรรมและกระบวนการต่างๆที่เด็กลงมือกระทำ
คำตอบข้อที่ 6 ดูที่กระบวนการในการทำงานและผลงานของเด็กว่ามีความตั้งใจทำงานหรือเปล่าและไม่ควรประเมินผลงานเด็กจากความสวยงาม
คำตอบข้อที่ 7 หวังว่าจะได้ความรู้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กที่มีความหลากหลายในการทำกิจกรรมในห้องเรียนไปต่อยอดเพื่อส่งเสริมจินตนาการของเด็ก
ขณะนำเสนอทั้ง 5 กลุ่ม |
การนำไปประยุกต์ใช้
การเป็นครูที่ดี เวลาจัดกิจกรรมต้องคอยเดินดูเด็กขณะทำ ดูกระบวนการในการทำงานและผลงานของเด็กว่ามีความตั้งใจทำงานหรือเปล่าและไม่ควรประเมินผลงานเด็กจากความสวยงาม และการจัดกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
การเป็นครูที่ดี เวลาจัดกิจกรรมต้องคอยเดินดูเด็กขณะทำ ดูกระบวนการในการทำงานและผลงานของเด็กว่ามีความตั้งใจทำงานหรือเปล่าและไม่ควรประเมินผลงานเด็กจากความสวยงาม และการจัดกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
การประเมินผล
- การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ชอบ VDO ด.เด็ก ช.ช้าง รู้สึกเขาสื่อออกมาให้เห็นว่าครูไทยบางส่วนมีการสอนที่ผิด ยึดติดกับแค่ว่าเด็กอายุน้อยไม่สามารถวาดอะไรได้สวย คือไม่รู้จักศักยภาพ ความแตกต่างของเด็กนั้น และตอนทำกิจกรรมวาดภาพตนเองตามจินตนาการตั้งใจวาดมาก ถึงจะไม่คล้าย หรือสวยเท่าไหร่เพราะเวลามีจำกัด แต่จุดเด่นของตัวเองคือผมหน้าม้า พอใจในผลงานของตนเองค่ะ
- การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮา ตอนวาดภาพตนเองทุกคนต่างก็ตั้งใจวาดกันมาก บางคนก็วาดเหมือนตัวตนมาก พอดูแล้วใช่เลย และมีการตั้งชื่อภาพที่มาที่ไปด้วย
- การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน มีการสอนเทคนิคต่างๆ นำ VDO หนังสั้นมาให้ดูซึ่งมีสาระมาก ทำให้ได้ข้อคิดหลายๆอย่าง เมื่อนักศึกษาทำกิจกรรมเสร็จก็มีการพูดคุยให้ความสำคัญของงานเด็กๆ ถามที่มาที่ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น