วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี  21-22 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 102
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 10:10 น. ห้อง 442 และเวลา 12:20 - 15:00 น. ห้อง 223

กิจกรรมวันที่ 1
     อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมวาดภาพระบายสี
คำสั่ง : วาดภาพหัวข้อ "มือน้อยสร้างสรรค์" พร้อมอธิบายถึงรายละเอียดการทำ (อาจารย์ต้องการให้สร้างสรรค์การระบายสีช่องละสี)

    ภาพลายเส้นเค้าโครงมือ                  ภาพลงเส้นตัดขอบให้เด่นชัด
     ภาพซ้ายมือ - เมื่อวาดภาพมือเสร็จตามความพอใจของเราแล้ว (ให้เส้นตัดกัน)
     ภาพขวามือ - .ใช้เมจิกสีดำลากเส้นตัดขอบภาพที่วาดเพื่อความเด่นชัดขึ้น
ชื่อผลงาน Colorful
   

   



     การระบายสี - ระบายลงในช่องที่เป็นส่วนของภาพมือที่วาดเท่านั้น และแต่ละช่องลงสีที่ไม่เหมือนกัน สีของพื้นหลังดิฉันจะระบายสีดำเพื่อให้ภาพมือเด่นชัด
ขณะที่อาจารย์กำลังอ่านชื่อผลงานของแต่ละคน

   



     อาจารย์ให้มีการนำภาพวาดไปตัดตามกรอบสี่เหลี่ยมหรือพับก็ได้ และนำมาติดเป็นเฟรมฉากหลัง (ภาพพื้นหลัง) ไว้สำหรับให้ทุกคนๆสามารถเข้าไปถ่ายรูปได้




กิจกรรมวันที่ 2
     วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
     ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
  • ความงาม (ทางกาย,ทางใจ)
  • รูปทรง
  • การแสดงออก
"ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์
เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ"
  • Art มีรากฐานมาจาก ภาษาลาตินว่า Ars หมายถึง ทักษะ หรือ ความชำนาญ หรือ ความสามารถพิเศษ 
  • ศิลปะในภาษาไทย มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศิลป
  • ภาษาบาลี ว่า สิปป มีความหมายว่า ฝีมืออันยอดเยี่ยม
  • สิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งความเจริญเติบโต ความนึกคิด ความเข้าใจ และการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม (โลเวนฟิลด์ และบริเตน, 1975 )
  • ศิลปะที่มองเห็นได้ ที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ คือศิลปะสองมิติ หรือ สามมิติ แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง (วิรุณ ตั้งเจริญ , 2526)
  • งานศิลปะสำหรับเด็ก ไม่ใช่เพียงแค่การวาดภาพ ระบายสี หรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆเท่านั้น แต่หมายถึงการแสดงออก การสื่อสาร การถ่ายทอดจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน ที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กและสิ่งแวดล้อม (สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล, 2545)
ปรัชญาศิลปศึกษา
  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • ให้ความสำคัญกับ กระบวนการสร้างสรรค์งาน
  • เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
  • ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
  • สนับสนุนให้เรียนรู้ ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ
  • นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
     - เด็กชอบวาดรูป ขีดๆเขียนๆ
     - เด็กมีความคิด จินตนาการ
     - เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งไม่สามารถ พูด อธิบายได้
     - เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
     - เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ

ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย 
          - ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
  • ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น 
          - กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตนเองและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย
  • ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล ช่วยเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
  • นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
  • ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา 
          - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
          - ความมีเหตุผล
          - การแก้ปัญหา
ความสามารถของสมอง
กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
     มิติที่ 1 เนื้อหา
  • มิติเกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
  • สมอง รับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา 4 ลักษณะ 
          - ภาพ
          - สัญลักษณ์
          - ภาษา
          - พฤติกรรม
     มิติที่ 2 วิธีการคิด
  • มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ 
          - การรู้จัก การเข้าใจ
          - การจำ
          - การคิดแบบอเนกนัย (คิดได้หลายรูปแบบ หลากหลาย)
          - การคิดแบบเอกนัย (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
          - การประเมินค่า
     มิติที่ 3 ผลของการคิด
  • มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2 มี 6 ลักษณะ 
          - หน่วย
          - จำพวก
          - ความสัมพันธ์
          - ระบบ
          - การแปลงรูป
          - การประยุกต์

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
  • นักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง ชาวอเมริกัน
  • เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วย 
          - ความคล่องแคล่วในการคิด
          - ความยืดหยุ่นในการคิด - ความริเริ่มในการคิด
  • แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น 
          ขั้นที่ 1 ขั้นการค้นพบความจริง
          - เป็นขั้นเริ่มต้น ค้นหาสาเหตุ
          - ในการทำงานเริ่มแรก ต้องมีการคิดค้น หรือหาข้อมูลต่างๆ จะเกิดความรู้สึกกังวล สับสน วุ่นวาย แล้วค่อยๆปรับตัว พยายามคิดหาสาเหตุ ว่าสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้น คืออะไร
          ขั้นที่ 2 ขั้นการค้นพบปัญหา
          - เป็นขั้นที่สามารถคิดได้ และ
          - เกิดความเข้าใจแล้วว่า ปัญหาคืออะไร
          ขั้นที่ 3 ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
          - เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา
          - หาทางออกโดยการตั้งสมมุติฐาน          
          ขั้นที่ 4 ขั้นการค้นพบคำตอบ 
          - เป็นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐานด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย
          ขั้นที่ 5 ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
          - ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่ 4 นั้น ได้ผลเป็นอย่างไร
          - สรุปว่าสมมุติฐานใดคือการแก้ปัญหา หรือทางออกที่ดีที่สุด

ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  • เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
  • การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน สมองซีกซ้าย ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผลสมองซีกขวา ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
  • แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุศรี กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซีก คือ...สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี ส่วนสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ 11-13 ปี
  • ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักได้รับการพัฒนาเพียงสมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่ให้ความสนใจการทำงานของสมองอีกซีกหนึ่งเท่าที่ควร
  • นักการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสำคัญ และสนับสนุนการทำงานของสมอง 2 ซีกอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะบรรดางานค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ งานสร้างสรรค์ศิลปะ และความคิดแปลกใหม่ ล้วนเกิดจากการทำงานของสมองซีกขวา
  • แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา 
          - ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
          - มีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4 MAT
          - มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
  • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา
  • ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา ( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )
  • ทฤษฎีพหุปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่ 
          - ความสามารถด้านภาษา
          - ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์
          - ความสามารถด้านดนตรี
          - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
          - ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
          - ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
          - ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
          - ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
          - ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา

ทฤษฎีโอตา (AUTA)
     เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan) ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
     ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก  ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น 
          - การพัฒนาปรีชาญาณ
          - การรู้จักและเข้าใจตนเอง
          - การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
          - การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
     ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ  มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ...
          - ความรู้และเนื้อหาเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
          - ลักษณะกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
          -ทฤษฏีวามคิดสร้างสรรค์
          - เทคนิค วิธีการฝึกความคิดสร้างสรรค์
     ขั้นตอนที่ 3 เทคนิควิธี  การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน...
          - เทคนิควิธีการในการฝึกความคิดสร้างสรรค์
          - การระดมสมอง
          - การคิดเชิงเปรียบเทียบ
          - การฝึกจินตนาการ
     ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ  การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง...
          - เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม
          - มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง
          - สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม

พัฒนาการทางศิลปะ
     เคลล็อก (Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้ ขั้นขีดเขี่ย ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (placement stage)
  • เด็กวัย 2 ขวบ
  • ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
  • ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
  • ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape stage)
  • เด็กวัย 3 ขวบ
  • การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
  • เขียนวงกลมได้
  • ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
  • เด็กวัย 4 ขวบ
  • ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
  • วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
  • วาดสี่เหลี่ยมได้


ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage)
  • เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
  • เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
  • รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
  • ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
  • วาดสามเหลี่ยมได้

พัฒนาการด้านร่างกาย
     กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
  • ด้านการตัด 
          - อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
          - อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
          - อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
  • การขีดเขียน 
          - อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
          - อายุ 4-5 ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
          - อายุ 5-6 ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • การพับ 
          - อายุ 3-4 ปี พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
          - อายุ 4-5 ปี พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
          - อายุ 5-6 ปี พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
  • การวาด 
          - อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
          - อายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
          - อายุ 5-6 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน มือ คอ ผม

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้จากทฤษฎีต่างๆไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในแต่ละช่วงวัยของเด็กว่าเราควรสอนอย่างไร และให้เด็กได้พัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ แต่รู้สึกว่าผลงานออกมายังดูไม่ค่อยดีเนื่องจากสีไม้มีน้อย สีไม่เยอะ เลยดูสีไม่ค่อยหลากหลายสักเท่าไหร่ และเวลามีจำกัดทำให้ต้องรีบทำ ส่วนการบรรยายทฤษฏีอาจารย์อธิบายรายละเอียดดีค่ะ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮา มีการแบ่งปันสีไม้ กบเหลาดินสอให้กัน ทุกๆคนต่างตั้งใจทำงานของตัวเอง ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบภาพมือของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ พูดคุยสนุกสนาน ชอบเล่นมุข หากิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำเรื่อยๆ และสอนเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างละเอียดแบบกระฉับดีมากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น